รู้จัก เข่า
หัวเข่า อวัยวะของร่างกายที่สำคัญมากๆ อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักเกือบทั้งตัว เกือบตลอดเวลา ทั้งในขณะเดิน ยืน นั่ง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาจจะส่งผลกระทบกับการใช้งาน เข่า ได้ เช่น การยืนทำงานเป็นเวลานานๆ การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือออกกำลังกายไม่ถูกวิธี การลื่นหกล้ม อนึ่ง อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่ม ก็อาจจะส่งผลกระทบ ทำให้หัวเข่ามีปัญหา หรือเกิดอาการ ปวดเข่า ปวดข้อเข่า หรือ เข่าบวม เข่าอักเสบ ได้เช่นกัน
อาการ ปวดเข่า สัญญาณเตือน คุณต้องพบแพทย์เฉพาะทาง
ปวดข้อเข่า หรือ เข่าบวม ไม่ว่าจะปวดหัวเข่าข้างเดียว หรือปวดหัวเข่าทั้งสองข้าง คืออาการที่มีความรู้สึกเจ็บเข่า รู้สึกขัด เคลื่อนไหวบริเวณหัวเข่าไม่สะดวก รู้สึกเสียวแปลบ รู้สึกไม่มั่นคง ไม่มั่นใจเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย หรือมีความรู้สึกว่าข้อเข่าไม่แข็งแรง ซึ่งอาจจะรู้สึกได้ทั้งบริเวณด้านหน้าเข่า หรือ ด้านหลังก็ได้ ในบางรายอาจจะมีอาการเข่าบวมร่วมด้วย หรือพบว่ามีอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงบนต้นขา หรือปวดลงไปถึงบริเวณน่อง ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกับอาการปวดหัวเข่า ปวดข้อเข่า เข่าอักเสบ ได้
รู้จักข้อเข่ามากขึ้น
ข้อเข่า เป็นข้อต่อที่ประกอบขึ้นจากกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกขาท่อนบน (Femur) กระดูกขาท่อนล่าง (Tibia) และกระดูกสะบ้า (Patella) โดยที่จะประกอบกันเป็น 2 ข้อต่อหลักๆ คือ ข้อต่อระหว่างกระดูกขาท่อนบน กับกระดูกขาท่อนล่าง เรียกว่า Tibiofemoral Joint ทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักตัวของส่วนลำตัว และข้อต่อระหว่างกระดูกสะบ้า กับกระดูกขาท่อนบน เรียกว่า Patellofemoral Joint ทำหน้าที่ในการลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นต่อข้อเข่าเมื่อกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps Femoris) หดตัว โดยที่ผิวสัมผัสของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นที่มาประกอบกันจะมีกระดูกอ่อนผิวข้อ (Articular Cartilage) ปกคลุมอยู่ เพื่อลดแรงเสียดทานที่จะเกิดขึ้นกับข้อต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหว และยังเป็นตัวรับแรงกดของน้ำหนักตัวที่กดลงมาเมื่อมีการเคลื่อนไหว
หน้าที่และการทำงานของข้อเข่านั้น โดยหลักการพื้นฐานคือ เป็นส่วนที่เคลื่อนไหวของระบบโครงร่างของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น ปัจจัยที่จะทำให้ข้อทำงานได้สมบูรณ์ ก็คือ
- ความมั่นคงของข้อ (Stability)
- ข้อสามารถเคลื่อนไหวในทิศทางต่างๆ ได้ (Mobility)
- ไม่มีความเจ็บปวดมารบกวนการทำงานของข้อ (Painless)
กรณีที่เกิด มีอาการปวดข้อเข่า เข่าบวม ก็มักจะเกิดความผิดปกติมาจาก 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น
อาการปวดหัวเข่า สัญญาณเตือน คุณต้องพบแพทย์เฉพาะทาง
ปวดข้อเข่า หรือ เข่าบวม ไม่ว่าจะปวดหัวเข่าข้างเดียว หรือปวดหัวเข่าทั้งสองข้าง คืออาการที่มีความรู้สึกเจ็บเข่า ปวดหัวเข่า รู้สึกขัด เคลื่อนไหวบริเวณหัวเข่าไม่สะดวก รู้สึกเสียวแปลบ รู้สึกไม่มั่นคง ไม่มั่นใจเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย หรือมีความรู้สึกว่าข้อเข่าไม่แข็งแรง ซึ่งอาจจะรู้สึกได้ทั้งบริเวณด้านหน้าเข่า หรือ ด้านหลังก็ได้ ในบางรายอาจจะมีอาการเข่าบวมร่วมด้วย หรือพบว่ามีอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงบนต้นขา หรือปวดลงไปถึงบริเวณน่อง ซึ่งอาจจะเกิดร่วมกับอาการปวดเข่า ปวดข้อเข่า ได้
อาการที่พบได้บ่อย จากการปวดหัวเข่า
อาการที่พบ เมื่อมีการปวดข้อเข่า ดังนี้
- อาการปวดข้อเข่า ในขณะมีการขยับใช้งาน
อาการปวดลักษณะนี้จะพบได้เมื่อมีการขยับใช้งาน หรือมีการลงน้ำหนักที่เข่าในบางท่าทาง เป็นเฉพาะจังหวะที่เคลื่อนไหว ไม่ได้รู้สึกเจ็บหรือปวดหัวเข่าตลอดเวลา ถ้าได้นั่ง หรือนอน ไม่ได้ขยับ ก็จะไม่พบอาการ อาการปวดหัวเข่าลักษณะนี้อาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างบางตำแหน่งของข้อเข่าที่มีการใช้งาน หรือต้องรับน้ำหนัก เมื่อมีการขยับเคลื่อนไหวเท่านั้น
- ปวดหัวเข่าเฉพาะตอนที่เริ่มขยับแรกๆ
มีอาการปวดหัวเข่าเฉพาะตอนเริ่มขยับ พอขยับหรือใช้งานไปสักพัก อาการปวดหัวเข่าก็จะหายไป เช่น หลังจากที่ตื่นนอนในตอนเช้า เมื่อลุกจากที่นอนและเริ่มขยับตัว เดิน หรือ เคลื่อนไหว ในจังหวะการขยับหรือก้าวแรกๆ จะมีอาการปวดมาก แต่เมื่อขยับร่างกายเคลื่อนไหวต่อไปสักครู่ อาการปวดหัวเข่าจะทุเลาเบาลง หรือ เมื่อนั่งทำงานเป็นเวลานานติดต่อกัน แล้วลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ จะมีอาการปวดหัวเข่ามาก แต่อาการจะทุเลาเบาลง เมื่อเปลี่ยนท่าทาง แล้วขยับหรือเดินไปสักครู่ใหญ่หากมีอาการปวดหัวเข่าลักษณะนี้ หมายความว่ายังมีอาการที่ยังไม่รุนแรงมากนัก เพราะเมื่อไม่ได้ขยับบริเวณข้อเป็นเวลานาน จะมีอาการอักเสบของข้อเข่าสะสมอยู่ในบริเวณที่เป็นโรค และเมื่อมีการขยับครั้งแรกหลังจากที่ไม่ขยับเป็นเวลานานจะเป็นการกระตุ้นการอักเสบให้เพิ่มขึ้นในขณะนั้น พอขยับหรือใช้งานไปได้สักครู่ใหญ่จนมีเลือดเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณข้อเข่าได้เต็มที่ อาการปวดหัวเข่า อาการอักเสบก็จะกระจายตัวออกไป ทำให้ความรู้สึกปวดหัวเข่าทุเลาลดลงไป
- ปวดข้อเข่าตลอดเวลา
อาการปวดข้อเข่าตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้ขยับหรือไม่ได้ใช้งาน อาจจะบ่งบอกถึงการอักเสบหรือเสื่อมบริเวณเข่าที่รุนแรงขึ้นกว่าการปวดแบบอื่นๆ และอาจจะมีสารอักเสบปริมาณมากที่คั่งอยู่ในบริเวณข้อเข่า ลักษณะอาการนี้มักพบร่วมกับอาการเข่าบวม บวมแดง รู้สึกร้อนผ่าวอยู่ในข้อเข่า
- ปวดข้อเข่าเฉพาะตำแหน่งที่กดหรือสัมผัสโดน
อาการปวดข้อเข่าเฉพาะบริเวณตำแหน่งที่สัมผัสโดน หรือกดโดนเลักษณะเช่นนี้ อาจจะเกิได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดการบาดเจ็บ การเคล็ดอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่ด้านนอกข้อเข่า ซึ่งจะถูกใช้งานหนักในขณะวิ่ง แต่ถ้าเป็นการใช้งานทั่วไปจะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย อาการลักษณะนี้เรียกว่าเป็นรอยโรค หรือพยาธิสภาพเฉพาะตำแหน่ง
สาเหตุของการปวดหัวเข่า
กลุ่มที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ” ภายในข้อเข่า “
- กลุ่มที่เกิดขึ้นฉับพลัน
สาเหตุการบาดเจ็บเกิดขึ้นขณะเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บที่อวัยวะ หรือโครงสร้างภายในข้อเข่า ทำให้เกิดอาการปวดหัวเข่า จากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อเกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดจากเอ็นไขว้หน้า หลัง เกิดขาด หรือฉีกขึ้นมา หรือ หมอนรองกระดูกภายในข้อเข่าเกิดฉีดขาด - กลุ่มที่เกิดจากความเสื่อม
สาเหตุการปวดข้อเข่าที่เกิดจากความเสื่อมถอย หรือการใช้งานบริเวณข้อเข่ามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน หนักหน่วง จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นภายในโครงสร้าง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคข้อเข่าเสื่อม มักพบได้มากในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันพบได้มากขึ้นในกลุ่มที่มีอายุน้อยลงมา ตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป เนื่องจากวิถีของการทำงานหรือการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนไหวน้อยลงในขณะทำงาน หรือเกิดจากภาวะน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ข้อเข่ามีภาวะเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็น อาการข้อเข่าเสื่อมยังสามารถพบได้จากการเกิดโรคข้อสะบ้าเข่าอักเสบ หรือ โรคหมอนรองกระดูกฉีกขาดในข้อเข่าที่เกิดจากการใช้งานได้ด้วย
กลุ่มที่มีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ” ภายนอกข้อเข่า “
- กลุ่มที่เกิดขึ้นฉับพลัน
เกิดขึ้นกับอวัยวะนอกข้อเข่า อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บจากการใช้งานที่ผิดปกติอย่างฉับพลัน เช่น การเล่นกีฬาผาดโผน ไม่ได้อบอุ่นร่างกายก่อนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ทำให้เส้นเอ็นด้านใน ด้านนอก ข้อเข่า การการบาดเจ็บ เคล็ด ยอก พบได้บ่อยในนักกีฬาวิ่ง เช่น อาการเจ็บที่บริเวณด้านนอกข้อเข่า หรือ อาการ Hamstring อาการเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณด้านหลังเข่า หรืออาจจะเกิดจากการเจ็บที่เอ็นสะบ้าหัวเข่า เป็นเต้น - กลุ่มที่เกิดจากความเสื่อม
อาจจะเกิดจากอาการของความเสื่อมที่มาจากการใช้งานต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน กับอวัยวะภายนอกข้อเข่า เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง หรือ โรคกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาอ่อนแรง เป็นต้น มักพบมากในผู้สูงอายุ เพราะอายุที่เพิ่มขึ้นจึงทำให้กล้ามเนื้อ กระดูก เส้นเอ็น เส้นประสาท ที่ใช้งานมายาวนาน เสื่อมสภาพลง หรือใช้งานได้ไม่ดีเช่นเดิม
งานวิจัย พบ ผู้หญิง ต้องระวังมาก! ปวดหัวเข่า เข่าเสื่อม มากกว่าผู้ชาย
อ้างอิงจาก สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย เผยว่า อาการปวดหัวเข่า โรคข้อเข่าเสื่อม พบได้ในเพศหญิงวัยกลางคนและสูงอายุ มากกว่าเพศชาย ความเสื่อมที่เกิดขึ้น และความรุนแรงของโรคในเพศหญิง จะมีมากกว่าในเพศชาย ถึง 2 เท่า เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน และลักษณะจำเพาะของเพศหญิงคือยีนในโครโมโซมของเพศหญิงส่งเสริมให้เกิดความเสื่อมมากขึ้น
แต่ในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี จะพบ โรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้หญิง และจะมีอัตราการเกิดเท่าๆ กันในช่วงอายุ 45-55 ปี ภายหลังจากอายุ 55 ปีขึ้นไป จะพบการดำเนินโรคที่มากกว่าในเพศหญิง ( Lane & Wallae, 2001)
ในเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยทอง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจอย่างละเอียด และหาแนวทางเพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคข้อเสื่อม หรือ อาการปวดข้อ ก่อนที่จะเกิดอาการขึ้น
ปวดหัวเข่า มากแค่ไหน ต้องไปพบแพทย์เฉพาะทางด่วน
อาการปวดข้อเข่า เข่าบวม จะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หากมีอาการปวดหัวเข่ารุนแรงมาก ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลุ่มไหนก็ตาม ให้รีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเร็วที่สุด โดยสามารถประเมินระดับความรุนแรงของความเจ็บปวดด้วยตนเองได้ ด้วยการให้คะแนนความเจ็บปวด (Pain Scale) ตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนน โดยให้จินตนาการความเจ็บปวด ที่เจ็บปวดรุนแรงที่สุด ที่ไม่สามารถอดทนได้อีกต่อไป ที่ 10 คะแนน และไม่เจ็บปวดเลยที่ 0 คะแนน และหากมีคะแนนความเจ็บปวด มากกว่า 5 คะแนนขึ้นไป อาจถือได้ว่ามีความผิดปกติรุนแรง ให้รีบพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวางแผนการรักษาฟื้นฟูต่อไป
แนวทางการดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง หากมีอาการปวดหัวเข่า
- พักการใช้งานเข่าที่หนักเกินไป
หัวเข่าเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เคลื่อนไหว เดิน ยืน รับน้ำหนัก หากใช้งานหนักเกินไป หรือใช้งานไม่ระมัดระวัง จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาได้ แต่หากเมื่อพบว่ามีอาการ ปวดข้อเข่า หรือมีอาการ เข่าบวม บวมแดง เบื้องต้นให้หยุดหรือพักการใช้งานที่ผิดปกติไป อาจจะเดิน หรือยืนให้น้อยลงกว่าปกติ งดยกของหนัก หากมีน้ำหนักมากเกินปกติ ก็ควรลดน้ำหนักตัวลงด้วย - จัดท่ายกปลายขาสูง
ในขณะที่อยู่ในท่านั่ง หรือ ท่านอน ให้จัดท่าให้ปลายขายกสูงขึ้น สำหรับท่านอนอาจจะใช้หมอนหรือผ้าหนา หนุนบริเวณใต้เข่าไปจนถึงปลายเท้า เพื่อรองและยกให้ปลายขาสูงกว่าระดับท่านนอน หากอยู่ในท่านั่งให้ยกขาขึ้นวางบนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม เพื่อให้ปลายขายกสูงขึ้นกว่าระดับน่านั่งปกติ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดที่จะไหลไปคั่งที่บริเวณข้อเข่า ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อเข่า หรือเจ็บข้อเข่า ลงได้ - เพิ่มการประคบร้อน ประคบเย็น
หากอาการปวดหัวเข่าเกิดขึ้นฉับพลัน ภายใน 24 ชั่วโมงแรกให้ใช้วิธีการประคบเย็นเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณข้อเข่าที่เจ็บปวดอยู่น้อยลง ทั้งยังช่วยยับยั้งไม่ให้มีสารก่อการอักเสบเข้ามาสะสมบริเวณที่ปวดข้อเข่าเพิ่ม
หากเกิน 24 ชั่วโมงแล้ว ให้ใช้วิธีประคบอุ่นแทน เพื่อให้เลือดไหลมาเลี้ยงบริเวณข้อเข่ามากขึ้น เเละลดสารอักเสบลงจากบริเวณที่ปวด
แนวทางการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่
หากพบว่ามีอาการปวดหัวเข่า เข่าอักเสบ หรือเข่าบวมแดง อย่างรุนแรง หรือเริ่มมีอาการ ชาเข่า แพทย์เฉพาะทางอาจพิจารณาแนวทางการรักษาด้านการแพทย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งแนวทางการรักษา ฟื้นฟู ที่เป็นไปได้ มีดังนี้
- รับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาแก้อักเสบ ตามความเหมาะสม สามารถลดอาการปวดได้ทันที แต่เห็นผลอยู่ได้ในระยะสั้น ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง หรือต้องรับประทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา
- ฉีดยาสเตียรอยด์ มักใช้ในกรณีที่มีอาการปวด หรืออักเสบ เกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรือในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรับประทานยา โดยจะช่วยลดอาการอักเสบบวมแดง ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้สเตียรอยด์ต้องใช้กรณีที่จำเป็นเท่านั้น และแพทย์พิจารณาอย่างละเอียดเป็นรายกรณีไป
- ฉีดเซลล์จากตัวเอง เพื่อนำเซลล์ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับปกติ ที่ได้มาจากการสกัดแยกด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์ ฉีดกลับไปบริเวณที่ต้องการรักษาหรือฟื้นฟู โดยเฉพาะบริเวณเข่าที่มีปัญหา
- ทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ เป็นวิธีการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดหัวเข่าด้วยการเน้นไปที่การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อช่วยให้สามารถพยุงน้ำหนักของตัวเองได้มากขึ้น ช่วยเสริมสร้าง ฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวเข่าให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันอาการปวดในระยะยาวได้อีกด้วย
- ใช้เครื่องมือทางการแพทย์บรรเทาปวด เป็นอีกเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้การรักษาเกิดประสิทธิสูง ประสิทธิผลชัดเจน เห็นผลดีและสะดวกสบายมากขึ้น เลเซอร์นี้สามารถทะลุทะลวงผ่านผิวหนังลงลึกสู่ตำแหน่งของโรคได้อย่างแม่นยำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเนื้อเยื่อ (Photochemical Effect) หลั่งสารที่ช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องทานยาสามารถกระตุ้นเซลล์เพื่อใช้ในการซ่อมตัวเองในระยะยาวต่อไป
- ใช้พลังงานคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในการกระตุ้นการสร้างกระแสไฟฟ้าในเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของบริเวณหัวเข่าได้ ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในการรักษา บรรเทา อาการปวดหัวเข่า และกู้คืนสมรรถภาพหลังอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าได้
Leave a reply