อาการ ชาเข่า ปวดข้อเข่า อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายที่เกี่ยวกับระบบประสาท สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนตั้งแต่คนอายุน้อยไปจนถึงวัยชรา เนื่องจากร่างกายเสื่อมโทรมตามวัย หรือใช้งานข้อเข่าหนัก และมีพฤติกรรมการนั่งย่อต่ำ หรือนั่งลงกับพื้นเป็นเวลานาน ๆ เมื่อลุกขึ้นจะมีอาการชา ในปัจจุบันมีหลายคนที่เจออาการผิดปกติกับข้อเข่า เราไปดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ เพื่อดูว่าปัญหาข้อเข่าของคุณอาจมาจากโรคร้ายก็เป็นได้

อาการชาเข่า เกิดกับคนกลุ่มไหนได้บ้าง

ไม่ว่าเราจะอายุน้อยกว่า 40 ปี หรือมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ย่อมมีปัญหาเจ็บ ปวดหัวเข่า ได้ เนื่องจากความเสื่อมด้านสุขภาพที่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทและข้อต่อส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ในกลุ่มคนอายุน้อยมักพบในกลุ่มนักกีฬา คนที่ทำกิจกรรมทางกายหักโหม และในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เส้นประสาทบริเวณขาถูกกดทับ มีช่องไขสันหลังตีบแคบ กระดูกสันหลังเสื่อมหรือเคลื่อน เส้นเลือดที่ขาอุดตัน หรือการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ซึ่งกดทับเส้นเลือดจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนทำให้เกิดอาการชาตามมา

ชาเข่า เกิดจากสาเหตุใดบ้าง

สาเหตุที่ทำให้ มีอาการชาเข่า

อาการชาหรือรับรู้ความรู้สึกน้อย เป็นอาการชาที่สัมพันธ์กับท่าทาง เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ โดยเฉพาะพฤติกรรมการงอเข่า เช่น นั่งยอง ๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ หรือนั่งไขว่ห้าง ซึ่งเป็นท่าทางที่กดทับเส้นประสาทต่อความรู้สึกที่น่อง ขา หรือข้อเข่า

  • ขาดวิตามินบี
    วิตามินบี ทำหน้าที่ซ่อมแซมและบำรุงระบบประสาท หากร่างกายได้รับวิตามินบีน้อยเกินไป ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ข้อเข่าอักเสบ เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า
  • การกดทับเส้น
    การมีพฤติกรรมทางกายที่ผิดปกติหรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ ข้อเข่าเสื่อม หรือ ชา เช่น ท่านั่งไขว่ห้าง หรือนั่งพับเพียบทุกวันเป็นเวลานาน เกิดการกดทับเส้นเลือดทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก จนทำให้เกิดอาการชาได้
  • โรคเบาหวาน
    ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นอาการของผู้ป่วยเบาหวานขั้นรุนแรง แบบไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
    ความเข้มข้นของระดับน้ำตาลก่อให้เกิดการอักเสบ และสามารถทำลายระบบประสาทส่วนปลายได้ จึงเกิดอาการชาตามส่วนต่าง ๆ
รูมาตอยด์ ทำให้ เข่าชา เข่าอักเสบ ปวดเข่า

ข้อเข่าอักเสบ รูมาตอยด์

เป็นโรคภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดอักเสบในข้อเข่าแบบเรื้อรัง อาจถึงขั้น ข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากเกิดความผิดปกติของข้อกระดูก และไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด จึงเกิดอาการชาปลายมือ ปลายเท้า หรือชาตามข้อเข่า ซึ่งพบมากในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดข้อเข่า ในช่วงอายุ 30-50 ปี

  • ภาวะขาดไทรอยด์
    เมื่อมีอาการมือและเท้าชาจะสังเกตได้จากการเป็นตะคริวบ่อย ๆ มีอาการปวดตามกล้ามเนื้อ เหนื่อยง่าย สามารถแก้ไขอาการได้เบื้องต้น เช่น งดทานอาหารที่มีไขมัน เสริมอาหารจำพวกแร่ธาตุสังกะสี
  • ภาวะติดเชื้อ
    เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันแย่ลงส่งผลให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบางชนิด เช่น การขาดวิตามินบีที่เป็นสาเหตุของอาการชาตามปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณเข่าได้
  • โรคพิษสุราเรื้อรัง
    เป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและวิตามินที่มีประโยชน์ ส่งผลให้เกิดอาการมือและเท้าชาในที่สุด
หญิงสูงอายุ มีอาการ ปวดเข่า เข่าอักเสบ

งานวิจัย พบ ผู้หญิง ต้องระวังมาก! ปวดเข่า เข่าเสื่อม มากกว่าผู้ชาย

อ้างอิงข้อมูลจาก สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย พบว่า อาการ ปวดเข่า ปวดหัวเข่า เข่าอักเสบ พบได้ในผู้หญิงวัยกลางคนและมีอายุมาก มากกว่าผู้ชาย ความเสื่อมที่เกิดขึ้น และความรุนแรงของโรคในผู้หญิง จะมีมากกว่าในผู้ชาย ถึงกว่า 2 เท่า เนื่องจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน และลักษณะจำเพาะของความเป็นเพศหญิงคือยีนในโครโมโซมของเพศหญิงที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเสื่อมมากขึ้น

แต่ในผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี จะพบ โรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้หญิง และจะมีอัตราการเกิดเท่าๆ กันในช่วงอายุ 45-55 ปี ภายหลังจากอายุ 55 ปีขึ้นไป จะพบการดำเนินโรคที่มากกว่าในเพศหญิง ( Lane & Wallae, 2001)

ในผู้หญิง เมื่อเข้าสู่วัยทอง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อตรวจอย่างละเอียด และหาแนวทางเพื่อป้องกันและลดโอกาสการเกิด ข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม หรือปวดเข่า ก่อนที่จะเกิดอาการขึ้น

3 แนวทางแก้อาการชา ปลายมือ ปลายเท้า เข่า

โดยแบ่งออกตามระดับความรุนแรงและอาการ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้

  • การรักษาเมื่ออาการไม่รุนแรง
    หากมีอาการชานิด ๆ สามารถรักษาด้วยการเปลี่ยนท่าทาง การยืดเหยียด จะช่วยให้อาการชาเบาลง และทานอาหารเสริม เช่น วิตามินบี เพื่อต้านการอักเสบและบำรุงซ่อมแซมเส้นประสาท
  • การรักษาเมื่อมีอาการรุนแรงแบบต่อเนื่อง
    หากเปลี่ยนท่าทางหรือยืดเหยียดแล้วยังไม่หาย เริ่มต้นให้รักษาด้วยการทานยาต้านการอักเสบของเส้นประสาทและเฝ้าดูอาการ หากอาการยังไม่ดีขึ้นต้องผ่าตัดเอ็นที่กดรัดเส้นประสาทออก
  • การรักษาตามอาการ
    หากอาการมือ เท้า เข่า ชาเกิดจากโรคบางโรค การักษาต้องรักษาตามโรคที่เป็นอยู่ เพื่อบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรงกว่าเดิม และให้วิตามินที่ช่วยบำรุงระบบประสาท ทั้งนี้ ต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแนะนำแนวทางการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละบุคคล

แนวทางการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่

หากพบว่ามีอาการชา ปวดหัวเข่า เข่าอักเสบ หรือเข่าบวมแดง อย่างรุนแรง แพทย์เฉพาะทางอาจพิจารณาแนวทางการรักษาด้านการแพทย์ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งแนวทางการรักษา ฟื้นฟู ที่เป็นไปได้ มีดังนี้

  • รับประทานยาแก้ปวด หรือ ยาแก้อักเสบ ตามความเหมาะสม สามารถลดอาการปวดได้ทันที แต่เห็นผลอยู่ได้ในระยะสั้น ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง หรือต้องรับประทานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะมีผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมา
  • ฉีดยาสเตียรอยด์ มักใช้ในกรณีที่มีอาการปวด หรืออักเสบ เกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรือในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรับประทานยา โดยจะช่วยลดอาการอักเสบบวมแดง ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการใช้สเตียรอยด์ต้องใช้กรณีที่จำเป็นเท่านั้น และแพทย์พิจารณาอย่างละเอียดเป็นรายกรณีไป
  • ฉีดเซลล์จากตัวเอง  เพื่อนำเซลล์ที่มีความเข้มข้นสูงกว่าระดับปกติ ที่ได้มาจากการสกัดแยกด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์ ฉีดกลับไปบริเวณที่ต้องการรักษาหรือฟื้นฟู โดยเฉพาะบริเวณเข่าที่มีปัญหา
  • ทำกายภาพบำบัด โดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ เป็นวิธีการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดหัวเข่าด้วยการเน้นไปที่การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อช่วยให้สามารถพยุงน้ำหนักของตัวเองได้มากขึ้น ช่วยเสริมสร้าง ฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวเข่าให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น และยังช่วยป้องกันอาการปวดในระยะยาวได้อีกด้วย
  • ใช้เครื่องมือทางการแพทย์บรรเทาปวด  HPL เป็นอีกเครื่องมือที่เข้ามาช่วยให้การรักษาเกิดประสิทธิสูง ประสิทธิผลชัดเจน เห็นผลดีและสะดวกสบายมากขึ้น เลเซอร์นี้สามารถทะลุทะลวงผ่านผิวหนังลงลึกสู่ตำแหน่งของโรคได้อย่างแม่นยำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของเนื้อเยื่อ (Photochemical Effect) หลั่งสารที่ช่วยลดอาการปวดได้เป็นอย่างดีโดยไม่ต้องทานยาสามารถกระตุ้นเซลล์เพื่อใช้ในการซ่อมตัวเองในระยะยาวต่อไป
  • ใช้พลังงานคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า PMS ในการกระตุ้นการสร้างกระแสไฟฟ้าในเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อของบริเวณหัวเข่าได้ ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ในการรักษา บรรเทา อาการปวดหัวเข่า และกู้คืนสมรรถภาพหลังอาการบาดเจ็บบริเวณเข่าได้
รักษาปวดเข่า เข่าอักเสบ เข่าชา

ลงทะเบียนเพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทาง

Please enable JavaScript in your browser to complete this form.
ชื่อ นามสกุล
Leave a reply